Welcome To A-Math_BM's Blog :-)

Hooking ต่อหน้าเติมหลัง





     นอกจากเราจะบิงโก ซึ่งได้คะแนนพิเศษ 40 คะแนน หรือการสร้างสมการใหม่โดยเชื่อมกับตัวเบี้ยตัวใดตัวหนึ่งบนกระดานแล้ว การเล่น Hooking ยังถือว่าเป็นไม้ตายอีกชุดหนึ่งซึ่งน่ากลัวมากๆ ทำแต้มเป็นร้อยได้เช่นกันนะครับ
     การต่อหน้าเติมหลังหรือ Hooking ผู้เล่นจะต้องมองเบี้ยให้ออกและลงอย่างถูกต้อง อาจจะลงด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังด้านเดียว หรือทั้งด้านหน้าและด้านหลังของสมการนั้นๆเลยก็ได้ ตามจริงก็ไม่ได้มีรูปแบบอะไรตายตัวนะครับ แต่เรานำสูตรเด็ดที่คิดว่าอาจจะช่วยคุณได้ในสนามจริงมาให้ดูกันเล่นๆครับ
     ที่จะเห็นต่อไปนี้เห็นโครงสร้างของการ Hooking ซึ่งผมขอแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆนะครับ

     1.ผลลัพธ์สมการนั้นๆ คงเดิม
               เป็นการต่อหน้าเติมหลังที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าในสมการนั้นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานการเล่นเอแม็ทมากๆ และจำเป็นร้อยละ 60 เลยทีเดียวนะครับ ลองมาดูสูตรหลักๆที่เราน่าจะรู้ไว้นะครับ
(กำหนดให้ A+B=C แทนสมการใดๆ โดยให้สีแดง เป็นสมการหลัก และสีน้ำเงิน เป็นส่วนที่เรา Hooking นะครับ)

           1.1)   A+B=C0/10     โดยที่ c ไม่เท่ากับ 0 (จำนวน c อยู่ระหว่าง -99 ถึง 99)

                   เช่น     4+6=100/10
                             35=7x50/10
                             7x6-2=400/10

           1.2)   A+B=CC/11     โดยที่ c ไม่เท่ากับ 0 (จำนวน c อยู่ระว่าง -9 ถึง 9)
                   เช่น     19x5=91+44/11
                               6=66/11
                               26=3+9x2+55/11

           1.3)   2A-A+B=C        โดยที่ A ไม่เท่ากับ 0
                   เช่น     14-7=5+2
                              28-14=7x2
                              92-46=7x5+11
          1.4)   (AxA)/A+B=C   โดยที่ A ไม่เท่ากับ 0 (หรือ A กำลังสองนั่นเอง)
                   เช่น     49/7=7
                              256/16=32/2
                              361/19x7=133

           1.5)   0+A+B=C
                         A+B=C+0    
                         A+B=C-0
                   ช่น     0+42=45-3
                              926=926+0
                              4x9+5=41+0

           1.6)   0-A+B=C           โดยที่ A เท่ากับ 0       
                   เ่ช่น     0-0x758=0
                              0-0+4x5=20
                              0-0x5+9=9

           1.7)   ...x0+A+B=C
                    0/...+A+B=C
                            A+B+C+0x...
                            A+B=C+0/...
                            A+B=C-0x...
                            A+B=C-0/...
                            A+B=C+...x0
                            A+B=C-...x0
                    เช่น     788x0+65=65
                               0/12+76=19x4
                               6+5=11+0x717
                               13x2=24+2+0/629
                               4=4-0x333
                               7=14/2-0/19
                               326=326+77x0
                               66=11x6-17x0
       
           1.8)  ...x0-A+B=C         โดยที่ A เท่ากับ 0
                   0/...-A+B=C
                   0x...-A+B=C 
                   เช่น     489x0-73x0=0
                              0/456-0=0/788
                              0x172-42x0=0/11 

           1.9)  1xA+B=C
                        A+B=Cx1
                        A+B=C/1
                   เช่น    1x42=7x6
                             93=93x1
                             4+5=7+2/1

         1.10)  1/A+B=C               โดยที่ A เท่ากับ 1 และไม่เท่ากับ 0
                   เช่น    1/1+7=8
                             1/1x46=46
                             1/1+5x2=11
         1.11)   n/nxA+B=C          โดยที่ n เป็นจำนวนบวกใดๆ                                              
                             A+B=Cxn/n
                             A+B=C/nxn
                   เช่น     4/4x7=7
                              9+2=18x8/8
                              426=432-6/12x12

         1.12)   n/n/A+B=C           โดยที่ n เป็นจำนวนบวกใดๆ และ A เท่ากับ 1
                   เช่น     10/10/1x3+5=8
                               8/8/1+4=5
                               9/9/1x26=26 

         1.13)   C=A+B=C
                          A+B=C=C  
                   เช่น     9=9=9
                              11=4+7=11=11
                              12=3x2+6=3x4

         1.14)   0-A+B=C
                   เช่น     0-67+72=5
                              0-2+5=3
                              0-14+8=-6

         1.15)   n-n-A+B=C
                   เช่น     1-1-4+5=1
                              7-7-7+15=8
                              12-12-778x0=0

         1.16)    A+B=C/2+C/2       โดยที่ C ไม่เท่ากับ 0
                  เช่น     6+4=10/2+5
                             32=8x4/2+16
                             12=12/2+6


      2.ผลลัพธ์สมการนั้นๆ เปลี่ยนไป
               เป็นเทคนิคที่ยากขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง จำเป็นมากสำหรับการคำนวณขั้นสูง มีไม่กี่คนที่จะใช้หลักข้อนี้ได้ไวแบบมองแล้วลงได้เลย จึงได้เสนอแบบการลงไว้ให้บางส่วนเพื่อเป็นแนวทางการเล่น ดังนี้ครับ
(กำหนดให้ A+B=C , A=A แทนสมการใดๆ โดยให้สีแดง เป็นสมการหลัก และสีน้ำเงิน เป็นส่วนที่เรา Hooking นะครับ)

           2.1)   n+A+B=C+n   โดยที่ สมการนั้นต้องมีเท่ากับเพียงตัวเดียว
                    เช่น     4+72=72+4
                              18+4x9=28+8+18
                               5+7x5=35+5 

           2.2)   nxA+B=Cxn    โดยที่ สมการนั้นต้องมีเท่ากับเพียงตัวเดียว และไม่มีการบวกลบ
                   เช่น     4x72/5x10=144x4
                              6x86/2=43x6
                              17x729=729x17

           2.3)   nA+B=Cm        โดยที่ n +|- 1 =C และ m=A+B ไม่ทด
                   เช่น     94+5=99
                              72+5=75+2
                              86+3=91-2

           2.4)   n-A+B=C+n
                   เช่น     7-2+7=5+7
                              4-42+57=12+3+4
                              9-9x7=-63+9

           2.5)   -n-A+B=C-n      โดยที่ n ไม่เท่ากับ 0
                    เช่น     -5-7=-8+1-5
                               -9-4+9=5-9
                               -9-433x0=0-9

           2.6)   ABA=ABC+n        โดยที่ A และ n ไม่เท่ากับ 0
                    ABA=ABC-n
                    เช่น     767=763+4
                               343=349-6
                               262=265-3

           2.7)   B-A=A+B-2A
                    เช่น     7-3=3+7-6
                               42-5=5+42-10
                               5-24=24+5-48

                    >>> ที่มาของ 2.7 : ผมบังเอิญค้นพบจากการเล่นเกมหนึ่ง ซึ่งตอนหลังมารู้ว่ารากฐานมาจาก 2A-A=A+B-B นั่น แหละครับ เพียงแต่ถ้าผมลงแบบนี้ ผมจะลงเบี้ยไม่โดน x3 แต่ถ้าผมลงแบบ 2.7 จะลงได้ x3 ทั้งที่ทั้งสองแบบก็บิงโกนะครับ จึงได้ความรู้เพิ่มว่า เราเล่นเอแม็ทเนี่ย อย่าลืมพื้นฐานการย้ายข้างสมการด้วยนะครับ มันอาจจะมีประโยชน์เวลาแบบนี้แหละครับ !!!

     จาก 22 ตัวอย่างรูปแบบของการลงโดยไม่บิงที่เรียกว่า Hooking นี้จัดเป็นอาวุธหลักเลยก็ว่าได้ เพราะเราไม่สามารถบิงโกได้ทุกตาหรอกครับ จึงต้องมีการ Hooking หรือการสร้างสมการใหม่ ซึ่งโอกาสลงมีสูงสูสีกันระหว่างบิงโกกับ Hooking มากกว่าครับ (เพราะส่วนใหญ่เราสร้างสมการใหม่ทั้งที เราต้องอยากลงบิงโกมากกว่าไม่บิงโกจริงไหมครับ) นอกเหนือจากนี้ยังมีแนวการเล่นอีกมากมายนะครับ เช่น การลงเชื่อม 0  การลงเชื่อมธรรมดา (ด้วยติดลบหรือตัวเลข) รวมถึงการลงแบบสี่แยก ซึ่งหาได้ยากมากๆครับ
     สำหรับเรื่อง Hooking ก็คงจะละไว้เพียงเท่านี้นะครับ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากการเล่นจริงนะครับ หากมีข้อเสนอแนะ ติชมใดๆ สามารถคอมเม้นท์ไว้ได้นะครับ มันอาจจะไม่สวยไม่เรียบร้อยหน่อยนะครับ เพิ่งหัดทำบล็อคครับ ยังไงก็ฝากติดตามชมต่อไปนะครับ ขอบคุณครับ